Our Article
ความท้าทายของภูมิอากาศและโอกาสในการพัฒนาเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โดย Prof. Dr. Emma Porio, School of Social Sciences, Ateneo de Manila University
โดย Prof. Dr. Emma Porio, School of Social Sciences, Ateneo de Manila University
year 2025
Share on facebook
Facebook
Share on google
Google+
Share on twitter
Twitter
Share on linkedin
LinkedIn
Share on whatsapp
WhatsApp

ภาพที่ 1 ภาพถ่ายรวมของผู้เสวนาและผู้บรรยาย
หน่วยวิจัยอนาคตและนโยบายเมืองแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Thammasat University Research Unit in Urban Futures & Policy Research Unit หรือ UFP) ร่วมกับ องค์กร START International (หรือ Global Change System for Analysis, Research, and Training) ที่ทางหน่วยวิจัยฯ ได้เป็นพันธมิตรระดับภูมิภาค หรือ Regional Affiliate และโครงการ EPIC-N หรือ (Educational Partnerships for Innovation in Communities Network) ซึ่งทางหน่วยวิจัย UFP เป็นผู้ประสานงานระดับเอเชีย (Asia coordinator) ได้ร่วมจัดงาน “สัมมนาเชิงปฏิบัติการนานาชาติ การวางแผนและผังเมือง และการออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อส่งเสริมการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและเมืองสำหรับทุกคน” เป็นเวทีสำคัญที่รวบรวม ผู้นำชุมชน นักผังเมือง ผู้กำหนดนโยบาย สถาปนิก และนักวิจัยจากทั่วโลก เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความร่วมมือ และพัฒนากลยุทธ์เชิงปฏิบัติที่ตอบโจทย์ความท้าทายด้านสภาพภูมิอากาศ งานสัมมนาเชิงปฏิบัติการนานาชาติจัดขึ้นระหว่างวันที่ 24-26 มกราคม พ.ศ. 2568
จากบทความครั้งที่แล้วที่หน่วยวิจัยฯ ได้สรุปการกล่าวต้อนรับและกล่าวเปิดของเจ้าภาพร่วมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่สำคัญ ในการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้ง 5 ท่าน
ในครั้งนี้ หน่วยวิจัยฯ จะมาเล่าถึงการบรรยายจาก Keynote Speaker ที่หน่วยวิจัยฯ ได้เชิญมาร่วมบรรยายภายในงาน ทางหน่วยวิจัยฯ รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เชิญ Prof. Dr. Emma Porio จาก School of Social Sciences, Ateneo de Manila University มาบรรยายในหัวข้อ “ความท้าทายของภูมิอากาศและโอกาสในการพัฒนาเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” (Climate challenges and opportunities for cities in South-east Asia) Prof. Dr. Emma มีความเชี่ยวชาญด้านสังคมวิทยาและการบรรเทาความเสี่ยงจากภัยพิบัติทางสภาพภูมิอากาศ ทำงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความเปราะบาง ความยืดหยุ่นของชุมชนที่มีรายได้น้อยต่อภัยพิบัติทางสภาพภูมิอากาศ และระบบการบรรเทาความเสี่ยงในภูมิภาคโลกใต้ ความเชี่ยวชาญของเธอครอบคลุมถึงการพัฒนา ความยากจน การบริหารจัดการเมือง เพศ ความเปราะบางจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความยืดหยุ่น
Prof. Dr. Emma ยังเป็นหัวหน้าโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการข้ามสาขาวิชา Coastal Cities at Risk (CCARPH) ภายใต้โปรแกรมความยืดหยุ่นต่อภัยพิบัติและสภาพภูมิอากาศของ Ateneo’s นอกจากนี้ เธอยังเป็นผู้ร่วมก่อตั้งและผู้กำกับร่วมชั่วคราวของหลักสูตรปริญญาโทด้านความเสี่ยงและความยืดหยุ่นต่อภัยพิบัติ (MDRR) ซึ่งได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในหลักสูตรที่ดีที่สุดในเอเชียตะวันออก

ภาพที่ 2 Prof. Dr. Emma Porio จาก School of Social Sciences, Ateneo de Manila University
Prof. Dr. Emma กล่าวถึงการสร้างองค์ความรู้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การสนับสนุนการผลิตงานวิจัย และเอกสารเพื่อบันทึกความคืบหน้าในด้านการปรับตัวและลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะในประเทศที่กำลังพัฒนาเป็นสิ่งสำคัญเพื่อแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น เครื่องมือ แนวทาง เครือข่ายและความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาแบบองค์รวมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
การเผชิญภัยคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั่วโลก โดยเฉพาะในเอเชียที่มีความเปราะบางอย่างมากต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น น้ำท่วม ไต้ฝุ่น ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น รวมถึงปัจจัยทางการเมืองและเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อความยั่งยืนและความสามารถในการปรับตัวของเมือง จากรายงานการประเมิน (IPCC) ที่แสดงให้เห็นถึงสัดส่วนการปล่อยการคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นเหตุเป็นผลไปถึงการเผชิญภัยคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั่วโลกที่เพิ่มมากขึ้น เห็นได้ชัดในประเทศฟิลิปปินส์ช่วง 20 ปีที่ผ่าน ที่ได้รับความเสียหายจากภัยพิบัติเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าส่งผลให้บริษัทประกันภัยหลายแห่งในฟิลิปปินส์ปฏิเสธการทำประกันและล้มละลาย ดังนั้นการมีองค์ความรู้ที่ครอบคลุมและทันสมัยจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เราตระหนักถึงปัญหา นำไปสู่การรับมือและแก้ไขได้ในอนาคต
อย่างไรก็ดี การสร้างความรู้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อาทิ ภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม และการสร้างความสามารถของนักวิทยาศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ปฏิบัติงาน เป็นหลักการที่จะนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ที่สร้างความรู้สึกความเป็นเจ้าของร่วมให้กับทุกภาคส่วนในการทำงาน ทั้งนี้การขาดการบูรณาการการทำงานข้ามภาคส่วนในทุกระดับ ซึ่งเป็นความท้าทายที่หลายเมืองกำลังเผชิญ ความท้าทายนี้นำไปสู่ข้อจำกัดในการนำนโยบายหรือมาตรการลงไปสู่การปฏิบัติจริง ตัวอย่างประเทศฟิลิปปินส์ที่มีมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่หลายหลาย แต่มีข้อจำกัดในการนำไปสู่การปฏิบัติการการทำงานที่ขาดความต่อเนื่องและกระจัดกระจาย ดังนั้นการนำมาตรการไปสู่การปฏิบัติจึงหัวใจสำคัญที่จะนำไปสู่การวางแผนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงซึ่งแสดงให้เห็นถึงความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างและการพัฒนาเทคโนโลยีที่เน้นการใช้งานจริงในพื้นที่เพื่อให้โครงการและนโยบายต่างๆ สอดคล้องกับความต้องการของผู้คนในระดับท้องถิ่น
