ความท้าทายของภูมิอากาศและโอกาสในการออกแบบชุมชนเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดย Prof. Dr. Jeffrey Hou, Head of Department of Architecture, National University of Singapore

Our Article

ความท้าทายของภูมิอากาศและโอกาสในการออกแบบชุมชนเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โดย Prof. Dr. Jeffrey Hou,
Head of Department of Architecture, National University of Singapore

year 2025

Share on facebook
Facebook
Share on google
Google+
Share on twitter
Twitter
Share on linkedin
LinkedIn
Share on whatsapp
WhatsApp

ภาพที่ 1 ภาพถ่ายรวมของผู้เสวนาและผู้บรรยาย

หน่วยวิจัยอนาคตและนโยบายเมืองแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Thammasat University Research Unit in Urban Futures & Policy Research Unit หรือ UFP) ร่วมกับ องค์กร START International (หรือ Global Change System for Analysis, Research, and Training) ที่ทางหน่วยวิจัยฯ ได้เป็นพันธมิตรระดับภูมิภาค หรือ Regional Affiliate และโครงการ EPIC-N หรือ (Educational Partnerships for Innovation in Communities Network) ซึ่งทางหน่วยวิจัย UFP เป็นผู้ประสานงานระดับเอเชีย (Asia coordinator) ได้ร่วมจัดงาน “สัมมนาเชิงปฏิบัติการนานาชาติ การวางแผนและผังเมือง และการออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อส่งเสริมการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและเมืองสำหรับทุกคน” เป็นเวทีสำคัญที่รวบรวม ผู้นำชุมชน นักผังเมือง ผู้กำหนดนโยบาย สถาปนิก และนักวิจัยจากทั่วโลก เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความร่วมมือ และพัฒนากลยุทธ์เชิงปฏิบัติที่ตอบโจทย์ความท้าทายด้านสภาพภูมิอากาศ งานสัมมนาเชิงปฏิบัติการนานาชาติจัดขึ้นระหว่างวันที่ 24-26 มกราคม พ.ศ. 2568

จากบทความครั้งที่แล้วที่หน่วยวิจัยฯ ได้เล่าถึงความท้าทายของภูมิอากาศและโอกาสในการพัฒนาเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บรรยายโดย Prof. Dr. Emma Porio ที่พูดถึงแนวทางการบูรณาการการทำงานร่วมกันและสร้างองค์ความรู้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย เพื่อนำไปสู่การกำหนดนโยบายและมาตรการร่วมกันลงไปสู่การปฏิบัติจริง และการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น

ในครั้งนี้ หน่วยวิจัยฯ จะมาเล่าถึงการบรรยายจาก Keynote Speaker ท่านต่อไปที่หน่วยวิจัยฯ ได้เชิญมาร่วมบรรยายภายในงาน ทางหน่วยวิจัยฯ รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เชิญ Prof. Dr. Jeffrey Hou, Head of Department of Architecture, National University of Singapore มาบรรยายในหัวข้อ “ความท้าทายของภูมิอากาศและโอกาสในการออกแบบชุมชนเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” (Climate challenges and opportunities for community design in South-east Asia) Prof. Dr. Jeffrey เคยทำงานในโครงการหลากหลายประเภทกับชนเผ่าพื้นเมือง เกษตรกร ชาวประมง และชาวบ้านในเอเชีย รวมถึงเยาวชนและผู้สูงอายุในย่านชานเมืองของเมืองในอเมริกาเหนือ งานของเขาครอบคลุมตั้งแต่การอนุรักษ์ที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าไปจนถึงการสร้างพื้นที่เมืองจากระดับชุมชนไปถึงนโยบาย

ภาพที่ 2 Prof. Dr. Jeffrey Hou, Head of Department of Architecture, National University of Singapore

Prof. Dr. Jeffrey ได้กล่าวว่า การเพิ่มขึ้นของผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชนรายได้น้อย นำมาสู่แนวทางและบทบาทของชุมชนในการรับมือสถานการณ์ฉุกเฉินและการสร้างความสามารถในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงในระยะยาว ดังนี้ ตัวอย่าง: Rockaway นครนิวยอร์ก หลังจากเผชิญพายุเฮอริเคนแซนดี้ในปี 2012 ย่านได้รับความเสียหายอย่างรุนแรง ดังนั้นเพื่อการดำรงชีวิตหลังภัยพิบัติย่านได้มีการรวบรวมอาสาสมัครเพื่อปั่นจักรยานช่วยจัดส่งอาหารและของใช้จำเป็นในช่วงที่การคมนาคมถูกปิดจากพายุเฮอร์ริเคนแซนดี้ โดยมีชมรมโต้คลื่นในพื้นที่เป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ชั่วคราว และพื้นที่สวนชุมชนกลายเป็นจุดช่วยเหลือและสนับสนุนซึ่งกันและกัน ตัวอย่าง: กรณีศึกษาในญี่ปุ่น (1995 Ueno-Shinagawa Earthquake) เครือข่ายสังคมที่มีอยู่เดิม โดยเฉพาะกลุ่มที่เคยมีส่วนร่วมในโครงการพัฒนาชุมชน สามารถช่วยจัดการและฟื้นฟูพื้นที่หลังภัยพิบัติ

-ตัวอย่าง: ฟิลิปปินส์: กลุ่ม Life Cycle PH ที่ระดมทุนเพื่อจัดหาจักรยานให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขสามารถเข้าถึงผู้ที่อยู่อาศัยในชุมชนได้ รวมทั้งการจัดหาถุงยังชีพสำหรับผู้ที่ว่างงาน เป็นต้น

-ตัวอย่าง: ฮ่องกง: องค์กร ImpactHK ขยายการช่วยเหลือคนไร้บ้านในช่วงโรคระบาด

-ตัวอย่าง: สิงคโปร์: อาสาสมัครช่วยจัดหาหน้ากากและสิ่งของจำเป็นให้กับแรงงานข้ามชาติ

-ตัวอย่าง: Seattle, USA กำหนดให้สวนชุมชนเป็นศูนย์ฉุกเฉินประจำพื้นที่ โดยมีการจัดเตรียมพื้นที่สำหรับเก็บอาหารและช่วยเหลือชุมชนในกรณีฉุกเฉิน

-ตัวอย่าง: Taipei, Taiwan โครงการ Open Green ใช้แนวคิด “placemaking” ในการสร้างพื้นที่สาธารณะเพื่อประโยชน์ของชุมชน ตัวอย่างเช่น โครงการ Nanjing Rice ที่เปลี่ยนพื้นที่ว่างในอาคารเก่าให้เป็นศูนย์นวัตกรรมสังคม โดยมีครัวชุมชน ตลาดนัด ห้องประชุมของ NGOs และศูนย์ซ่อมแซมอุปกรณ์

-ตัวอย่าง: Nanji rd. แสดงถึงการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ตั้งแต่กลุ่มคนในพื้นที่ ไปจนถึงศิลปิน ผู้เชี่ยวชาญ และองค์กรต่าง ๆ ทำให้เกิดโครงการที่ตอบสนองความต้องการของคนในชุมชน รวมทั้งการใช้ทรัพยากรและพื้นที่ที่มีอยู่เดิม เช่น อาคารเก่าและสวนชุมชน ช่วยสร้างพื้นที่ที่สามารถใช้งานได้ทั้งในชีวิตประจำวันและในกรณีฉุกเฉิน

ภาพที่ 3 Prof. Dr. Jeffrey Hou ขณะกำลังบรรยาย

จากตัวอย่างข้างต้นแสดงให้เห็นถึงการตอบสนองต่อภัยพิบัติและวิกฤตต่าง ๆ โดยใช้ศักยภาพของชุมชนในการสร้างความสามารถในการรองรับการเปลี่ยนแปลงและความยั่งยืนในระยะยาวได้ที่สำเร็จ ตัวอย่างจากเมืองต่าง ๆ แสดงให้เห็นว่าความร่วมมือระหว่างชุมชนและองค์กรต่าง ๆ มีบทบาทสำคัญในการจัดการปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่

ดังนั้นแนวทางในการจัดการกับความท้าทายด้านสภาพภูมิอากาศและสังคมเศรษฐกิจผ่านการออกแบบชุมชน:

1. การสร้างโครงสร้างพื้นฐานของชุมชนที่เน้นการมีส่วนร่วมในชีวิตประจำวัน: การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของชุมชนที่สนับสนุนการสร้างเครือข่ายและเพิ่มขีดความสามารถของสมาชิกในชุมชน ไม่เพียงช่วยให้ชุมชนสามารถจัดการกับภัยพิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ยังช่วยส่งเสริมความเป็นอยู่ทางเศรษฐกิจและสังคมในระยะยาว

2. การเตรียมพร้อมล่วงหน้าก่อนเกิดภัยพิบัติ: การรอจนกว่าจะเกิดภัยพิบัติเพื่อดำเนินการแก้ไขเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ ชุมชนต้องมีการเตรียมการล่วงหน้า และสร้างระบบการจัดการและการฟื้นฟูที่ยั่งยืน

3. บทบาทของการจัดการตนเองในชุมชน: การจัดการตนเองและการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในชุมชนเป็นสิ่งสำคัญ แต่ไม่ควรจำกัดการดำเนินการเพียงระดับชุมชน ควรมีการประสานงานในระดับที่กว้างขึ้นเพื่อจัดการกับปัญหาสภาพภูมิอากาศและความท้าทายที่ครอบคลุมหลายพื้นที่ พร้อมทั้งการสร้างขีดความสามารถของชุมชนในการตรวจสอบและถือรัฐบาลและสถาบันต่าง ๆ ให้รับผิดชอบ: ชุมชนต้องมีบทบาทในการเรียกร้องความรับผิดชอบจากรัฐบาลและองค์กรต่าง ๆ เพื่อให้มั่นใจว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจได้รับการแก้ไขในระดับที่กว้างกว่าชุมชนเดียว

Prof. Dr. Jeffrey ได้ชี้ให้เห็นถึงศักยภาพของชุมชนที่มีความสามารถในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และบทบาทการจัดการตนเองของชุมชนที่สามารถเตรียมพร้อมและจัดการภายในชุมชนได้เอง เพื่อเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติที่เกิดขึ้น โดยที่ไม่ต้องรอให้เหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นก่อนแล้วค่อยทำ แต่ลงมือทำเพื่อเตรียมพร้อมไว้ก่อนแล้ว ซึ่งได้ยกตัวอย่างจากกรณีศึกษาประเทศต่าง ๆ จากสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ และประเทศอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม ต้องมีการประสานงานในกับหน่วยงานรัฐ องค์กร และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในระดับที่กว้างขึ้นเพื่อจัดการกับปัญหาภูมิอากาศอย่างยั่งยืนและความท้าทายที่ครอบคลุมหลายพื้นที่ สำหรับบทความอันต่อไปจะพูดถึงความท้าทายของภูมิอากาศและโอกาสในการพัฒนาชุมชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดย คุณสมสุข บุญญะบัญชา ที่จะเล่าประสบการณ์และแนวทางการพัฒนาชุมชนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

👉👉👉โปรดติดตาม รายละเอียดและความร่วมมือใหม่ ๆ ได้จากทางหน้าเพจของ Urban Futures and Policy ต่อไป...

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.