ถ้าโควิดระบาดเข้าชุมชนแออัด… ประเทศไทยจะอยู่ในสภาพไหนนะ?

Our Article

ถ้าโควิดระบาดเข้าชุมชนแออัด…
ประเทศไทยจะอยู่ในสภาพไหนนะ?

year 2020

Share on facebook
Facebook
Share on google
Google+
Share on twitter
Twitter
Share on linkedin
LinkedIn
Share on whatsapp
WhatsApp

เขียนโดย คุณภัชศุ นรการกุมพล

ภาพโดย คุณญาดา พรชำนิ

จากกรณีที่รัฐบาลได้สนับสนุนการเว้นระยะห่างทางสังคมหรือ Social distancing นั้น เราได้เกริ่นนำไว้ว่าไม่ใช่ทุกคนที่สามารถทำตามคำแนะนำนี้ได้เนื่องจากข้อจำกัดทางเศรษฐกิจ และสังคม โดยเราได้ใช้ตัวอย่างของกลุ่มคนในธุรกิจภาคบริการที่อาจจะสูญเสียรายได้และความมั่นคงทางการเงินจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าในครั้งนี้ ในวันนี้เราจะสำรวจกลุ่มคนที่กระจายอยู่ตามเมืองใหญ่ในทุกประเทศ กลุ่มคนที่กำลังจะพูดถึงนี้มักถูกมองและพูดถึงในแง่ร้ายและถูกตีตราว่าเป็นตัวร้ายในสังคมเมือง กลุ่มคนเหล่านี้คือผู้ที่ใช้ชีวิตอยู่ในชุมชนแออัด แต่คุณรู้ไม่ว่าในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าในครั้งนี้ทำให้กลุ่มคนเหล่านี้กลายเป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่เปราะบางที่สุดกลุ่มหนึ่งในสังคมเมือง

สำนักข่าว Aljazeera ได้พูดถึงชุมชนแออัดที่ใหญ่ที่สุดในแอฟริกานั้นที่มีชื่อว่าคิเบร่า (Kibera) ตั้งอยู่ในกรุงไนโรบี ประเทศเคนย่า ชุมชนแออัดนี้มีลักษณะทางกายภาพที่น่าสนใจคือการมีที่อยู่อาศัยที่ตั้งอยู่ในน้ำ ในข่าวนี้ได้มีการสัมภาษณ์ผู้นำชุมชนซึ่งได้บอกแก่นักข่าวว่าประชาชนในชุมชนนี้ไม่สามารถหยุดงานได้เนื่องจากพวกเขายังคงต้องนำเงินไปซื้ออาหารและจุนเจือครอบครัวของพวกเขาแบบวันต่อวันนั้นหมายความว่าพวกเขายังคงต้องเดินทางไปตามแหล่งงานถึงแม้รัฐบาลเคนย่าจะประกาศขอความรวมมือในการกักกันและการเว้นระยะห่างทางสังคมแล้วก็ตาม เขาได้กล่าวต่ออีกว่าเพราะลักษณะทางกายภาพที่ติดกัน แม้แต่น้ำสะอาดยังต้องซื้อใช้ไม่สามารถเปิดได้ในบ้าน ดังนั้นแม้แต่การล้างมือเป็นเวลา 20 วินาที ยังเป็นไปได้ยาก เช่นเดียวกันกับเมืองมุมไบ ประเทศอินเดีย ชุมชนแออัดที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง ดาราวี (Dharavi) ซึ่งเว็บไซต์ The New Indian Express ได้บอกว่าคนจำนวนกว่า 5-8 คนอาศัยอยู่ในห้องขนาดประมาณ 10 ตารางเมตร นั้นหมายความว่าการเว้นระยะห่างระยะหว่างคน 2 คนในระยะ 2 เมตรที่เราได้รับคำแนะนำอย่างกว้างขวางในขณะนี้เป็นเรื่องที่ไม่สามารถทำได้ นี้ยังไม่รวมถึงการรักษาสุขลักษณะที่ดีภายในที่อยู่อาศัยเช่นการระบายอากาศ แสงสว่าง หรือแม้แต่น้ำสะอาดในการล้างมือ

เมื่อเร็วๆนี้เราได้เห็นภาพที่ในพื้นที่โซเชียลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเฟสบุ๊ค และทวิตเตอร์แสดงให้เห็นถึง คนจำนวนมากต่อคิวเปิดบัญชีเพื่อรอลงทะเบียนรับเงินช่วยเหลือตามมาตรการช่วยเหลือกลุ่มแรงงานลูกจ้าง ลูกจ้างชั่วคราว และอาชีพอิสระ โดยจะต้องไปลงทะเบียนที่ www.เราไม่ทิ้งกัน.com โดยมีผู้ในตอนนี้มีผู้ลงทะเบียนขอรับความช่วยเหลือกว่า 24.2 ล้านคนซึ่งจะเริ่มจ่ายเงินเยียวยาสำหรับผู้ที่ผ่านคุณสมบัติในวันที่ 8 เมษายนหรือวันพรุ่งนี้ มากไปกว่านั้นในประเทศไทยนั้นมีชุมชนแออัดกระจายตัวอยู่ทั่วประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรุงเทพมหานครข้อมูลจากเว็บไซต์ของสำนักนโยบายและแผนทรัพยการธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพบ ว่าในปี พ.ศ.2560 กรุงเทพมหานครมีชุมชนแออัดอยู่จำนวน 668 ชุมชน เว็บไซต์ BBC ประเทศไทยยังได้เข้าไปสัมภาษณ์ประชาชนในชุมชนคลองเตย ซึ่งเป็นพื้นที่ชุมชนแออัดที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีจำนวนประชากรประมาณ 20,000 คน พบว่าบางคนไม่สามารถออกไปทำงานได้ บางรายต้องพึ่งพาอาหารจากการบริจาค ที่เป็นแบบนี้เพราะขาดงานจ้าง ท่าเรือก็ปิด กิจกรรมช่วยเหลือบ้างก็ถูกงดไป และไม่สามารถรู้แน่ชัดได้ถึงจำนวนผู้อยุ่อาศัยในชุมชนเหล่านี้ได้ คนในชุมเหล่านี้มักประกอบอาชีพที่ไม่เป็นทางการ มีรายได้เป็นครั้งๆไป เช่น พนักงานก่อสร้าง ค้าขาย รับจ้างทั่วไป ดังนั้นในภาวะที่เศรษฐกิจหยุดชะงักเช่นนี้ทำให้กลุ่มคนในชุมชนลักษณะนี้เปราะบางจากการขาดรายได้ซึ่งปกติก็ขาดความแน่นอนอยู่แล้ว แม้ว่ารัฐบาลได้ประกาศนโยบายช่วยเหลือกลุ่มคนที่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคมโดยให้เงินช่วยเหลือ 5,000 บาท เป็นระยะเวลา 3 เดือน แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะสามารถเข้าถึงแหล่งเงินนี้ได้ รวมถึงยังไม่มีเงื่อนไข้ที่ชัดเจนว่าใน 3 ล้านคนที่เข้าข่ายนั้นจะเป็นคนกลุ่มไหนได้บ้าง ดังนั้นการกักตุนอาหาร การรักษาสุขลักษณะที่ดี หรือการเตรียมความพร้อมต่อภาวะวิกฤติที่ต้องใช้เงินเป็นจำนวนมากจึงไม่สามารถทำได้โดยง่าย . ดังนั้นจึงทำให้กลุ่มคนเหล่านี้นั้นเป็นกลุ่มคนเมืองที่เปราะบางที่สุดกลุ่มหนึ่งที่พวกเรารวมถึงรัฐบาลควรที่ จะให้ความสำคัญ แต่การให้เงินช่วยเหลือแบบหว่านแหเช่นการช่วยเหลือกลุ่มแรงงานลูกจ้าง ลูกจ้างชั่วคราว และอาชีพอิสระโดยเปิดให้ทุกคนเข้าไปลงทะเบียนและไม่สามารถทราบได้ว่าคนที่ลงทะเบียนนั้นตรงกับกลุ่มเป้าหมายของนโยบายนี้ ท่านคิดว่านโยบายการแจกเงิน 5,000 บาทนี้จะสามารถช่วยเหลือกลุ่มคนเปราะบางที่ได้รับผลกระทบจากการจ้างงานที่หายไปได้อย่างตรงจุดหรือไม่? . และถ้าท่าคิดว่ามีข้อเสนอที่น่าสนใจเราขอชวนมาแลกเปลี่ยนความรู้กันในช่อง comment ด้านล่างได้เลย!

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.