อาหารหาซื้อยากเหลือเกิน! : การปรับแนวคิดเรื่องการจัดการห่วงโซ่อุปทานผ่านประสบการณ์การณ์ที่ได้รับจากวิกฤติโควิด-19

Our Article

อาหารหาซื้อยากเหลือเกิน! :
การปรับแนวคิดเรื่องการจัดการห่วงโซ่อุปทานผ่านประสบการณ์การณ์ที่ได้รับ
จากวิกฤติโควิด-19

year 2020

Share on facebook
Facebook
Share on google
Google+
Share on twitter
Twitter
Share on linkedin
LinkedIn
Share on whatsapp
WhatsApp

เขียนโดย คุณภัชศุ นรการกุมพล

ภาพโดย คุณญาดา พรชำนิ

ในช่วงเดือนที่ผ่านมา หลายท่านอาจจะได้เห็นข่าวในหลายประเทศว่าสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตนั้นหายากขึ้นและมีราคาที่สูงขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารทั้งอาหารสดและอาหารแห้ง แค่การออกไปจ่ายตลาดแต่ละครั้งนั้นทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อแล้ว เรายังไม่มีทางรับรู้อีกว่าจะได้ของอย่างที่ต้องการรึป่าว อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นและมีวิธีใดบ้างที่จะทำให้เราสามารถหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ความยากลำบากต่อการเข้าถึงอาหาร
จากการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ครั้งที่ 74 โดยนายทิจจานี มูฮัมหมัด-บานเด (H.E. Tijjani Muhammad Bande) ซึ่งเป็นประธานการประชุมในปีนี้ได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างมากในเรื่องของความมั่นคงทางอาหาร ซึ่งนายทิจจานีได้กล่าวว่า “ห่วงโซ่อุปทานอาหารเป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจที่จะการันตีการขนส่งอาหารไปสู่ท้องตลาด ดังนั้นภาคอุตสาหกรรมอาหารรวมถึง SME นั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการคุ้มครองเพื่อที่จะยังสามารถลำเลียงอาหารออกไปสู่สังคมโดยรวมในราคาที่เข้าถึงได้ในช่วงเวลาอันยากลำบากนี้

เว็บไซต์ของสำนักข่าว BBC ประจำสหราชอาณาจักรได้เข้าไปสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ด็อกเตอร์ลูดิไวน์ เพ็ททิทิน จากมหาวิทยาลัยคาร์ดิฟ (Dr. Ludivine Petetin, from Cardiff University) ซึ่งได้ให้ข้อคิดเห็นว่าปัญหาในปัจจุบันคือการที่ห่วงโซ่อุปทานอาหารนั้นชะงัก ซึ่งหมายความว่าสินค้าหลากหลายประเภทจะไม่ถูกส่งไปยังผู้ซื้อ ด็อกเตอร์เพ็ททิทินยังเสริมต่ออีกว่า สถานการณ์อาจจะยิ่งแย่ลงไปอีกเมื่อหลายประเทศที่เป็นผู้ส่งออกอาหารที่สำคัญประกาศงดส่งออกสินค้าบางชนิด เช่น เวียดนามและกัมพูชาได้มีการประกาศหยุดส่งออกข้าวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อเกิดเหตุการณ์ลักษณะนี้ขึ้น แน่นอนว่าประเทศที่พึ่งพาการนำเข้าอาหารจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากสถานการณ์นี้ เมื่ออุปสงค์สูงแต่อุปทานต่ำราคาสินค้าก็จะสูงขึ้นตามความขาดแคลนของสินค้าที่มีความต้องการสูงโดยเฉพาะสินค้าประเภทอาหาร
เพื่อที่จะผ่อนคลายสถานการณ์การเข้าถึงอาหารซึ่งกำลังเป็นปัญหาที่หลายประเทศกำลังเผชิญอยู่นั้น ด็อกเตอร์ลูดิไวน์ เพ็ททิทิน ได้แนะนำว่าการบริโภคหรือหาซื้ออาหารจากแหล่งอาหารภายในพื้นที่นั้นจะเป็นวิธีที่ช่วยลดการขาดแคลนอาหารได้ดี การบริโภคอาหารภายในท้องถิ่นไม่เพียงแต่เป็นการส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในพื้นที่ ยังสามารถลดมลพิษที่เกิดจากการขนส่งอาหารผ่านยานพาหนะต่างๆ อีกทั้งยังได้รับประทานอาหารที่สดใหม่และมีสารอาหารครบถ้วน

จากบทความนี้ ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรหากจะรัฐบาลหรือภาคประชาสังคมเองจะมีมาตรการสนับสนุนการบริโภคอาหารจากท้องถิ่นเพื่อลดความเสี่ยงจากการที่ห่วงโซ่อุปทานอาหารหยุดชะงักและส่งเสริมการเข้าถึงอาหารที่จัดจำหน่ายโดยพ่อค้าแม่ค้าหรือผู้ผลิตโดยตรง?
.
.
.
.
.
ท่านสามารถแสดงความคิดเห็นผ่านกล่องคอมเมนท์ด้านล่างค่ะ

บทความจาก

คุณภัชศุ นรการกุมพล

จากทีม Urban Futures and Policy

References

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.