Our Article
มาตรการของรัฐฯ ดีพอหรือยัง…
ถ้าคำนึงถึงความเป็นอยู่ในอนาคต
ถ้าคำนึงถึงความเป็นอยู่ในอนาคต
year 2020
Share on facebook
Facebook
Share on google
Google+
Share on twitter
Twitter
Share on linkedin
LinkedIn
Share on whatsapp
WhatsApp
เขียนโดย คุณภัชศุ นรการกุมพล
ภาพโดย คุณญาดา พรชำนิ

สถานการณ์ Covid-19 ที่เรากำลังเผชิญอยู่นี้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นอย่างมาก ผู้ประกอบการต่างสูญเสียไม่เพียงแต่สูญเสียรายได้ พนักงานวิสาหกิจภาคเอกชน พนักงานร้านอาหาร หรือแม้แต่ลูกจ้างรายวันต่างได้รับผลกระทบที่ส่งผลต่อความมั่นคงทางอาชีพจากการระบาดของเชื้อร้ายนี้อย่างถ้วนหน้า ในขณะที่ภาครัฐพยายามที่จะควบคุมการระบาดของโรคผ่านวิธี “การเว้นระยะห่างทางสังคม” หรือ Social Distancing โดยหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าและลดการเดินทางให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เพื่อลดความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อ Covid-19 ที่กำลังแพร่กระจายอยู่ในตอนนี้ ภาคธุรกิจต่างออกนโยบายสงเสริมการทำงานที่บ้าน (Work from home) เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อของพนักงานในบริษัทตัวเอง เช่นเดียวกันกับกรณีในประเทศแคนนาดา รัฐบาลมีมาตรการแทรกแทรงที่ไม่เกี่ยวข้องกับวิธีการทางเภสัชศาสตร์ (Non-Pharmaceutical interventions) ซึ่งใช้เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคในระดับบุคคล เช่น การดูแลรักษาสุขลักษณะที่ดีภายในบ้านของตนเอง การเว้นระยะห่างทางสังคม รวมถึงการอาสากักกันตัวเอง (Voluntary Home Quarantine) ในกลุ่มผู้มีเคยอยู่ในสถานการที่มีความเสี่ยงสูง (High risk of exposure) และในระดับสังคมโดยเฉพาะในโรงเรียนรวมถึงสถานการณ์หรือสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับการรวมคนจำนวนมาก เช่น ที่ทำงาน เป็นต้น หากแต่การเว้นระยะห่างทางสังคมนั้นมีบริบทและข้อจำกัดทางเศรษฐกิจและสังคมบางอย่างที่ยับยั้งหรือทำให้การเว้นระยะห่างทางสังคม เป็นไปได้ยากมากขึ้น

จากข้อมูลสถิติจำนวนประชากรแฝงกลางวัน (ผู้ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดหนึ่งแต่ทำงานอยู่อีกจังหวัดหนึ่ง)จากเว็บไซต์สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช) พบว่าในปี 2560 กรุงเทพมหานครมีจำนวนประชากรแฝงกลางวันสูงที่สุดในประเทศ โดยมีจำนวนถึง 2.04 ล้านคน ในจำนวนนี้รวมถึงนักเรียนนักศึกษาที่เดินทางเข้ามาศึกษาในสถานศึกษาในกรุงเทพมหานครด้วย ประกอบกับการที่รัฐบาลประกาศปิดสถานบริการ ห้างร้านต่างๆ รวมถึงสถานศึกษา สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของคนจำนวน 2.04 ล้านคนนี้โดยตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากกลุ่มคนเหล่านี้ไม่ได้มีที่อยู่อาศัยอย่างถาวรในกรุงเทพมหานคร ประกอบกับการขาดรายได้หรือแม้แต่ความหวาดระแวงต่อการติดเชื้อโรค ปัจจัยเหล่านี้ล้วนผลักให้คนจำนวนมากพยายามที่จะเดินทางออกจากกรุงเทพมหานครสู่ภูมิลำเนาเพื่อหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายที่จำเป็นหากยังใช้ชีวิตอยู่ในกรุงเทพมหานครต่อ หรืออาจจะกล่าวอีกนัยนึงได้ว่า การเว้นระยะห่างทางสังคมนั้นมีราคาที่ต้องจ่ายซึ่งไม่ใช้ทุกคนในสังคมจะสามารถแบกภาระค่าใช้จ่ายในสภาวะนี้ได้เว็บไซต์ The Atlantic ได้สอบถามถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมในอเมริกาจาก Mark Muro ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายจาก Brooking Institution ในกรุง Washington DC และพบว่า ในช่วงระยะเวลาหลังจากนี้ ธุรกิจภาคบริการในอเมริกาจะเข้าสู่ภาวะชะลอตัวโดยเฉพาะธุรกิจที่ต้องให้บริการแบบเผชิญหน้า (face-to-face) และคนจำนวนกว่า 10 ล้านคนที่สร้างรายได้จากภาคส่วนนี้จะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงเพราะภาคธุรกิจบริการนั้นไม่ได้มีรายได้ที่สูงและแน่นอนและพึ่งพาเงินทิปเป็นหลัก จากสถิติของธนาคารแห่งประเทศไทยพบว่าในเดือนมกราคม พ.ศ 2563 มีจำนวนแรงงานเฉพาะในกิจการค้าขายส่ง ขายปลีก และกิจการโรงแรมและอาหาร รวมทั้งสิ้นกว่า 1.1 ล้านคน นั้นหมายความว่าจะมีคนกว่า 1.1 ล้านคนที่จะหลายเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียรายได้และความมั่นคงทางอาชีพเนื่องมาจากผลพวงของภาคธุรกิจบริการที่ได้รับผลกระทบโดยตรงทำให้ผู้ประกอบการต่างพยายามที่จะรักษาธุรกิจของตัวเองซึ่งนั้นรวมถึงการขอให้ออกหรือการขอให้หยุดงานโดยไม่ได้รับเงินชดเชย

ในบทความเว็บไซต์ของ Harvard Business Review ได้ให้ข้อคิดเห็นว่าการเลิกจ้างในสถานการณ์ Covid-19 นั้นเป็นหนึ่งในเหตุการที่เป็นผลกระทบโดยตรงจากไวรัสโคโรน่าเกิดขึ้นได้เพื่อลดรายจ่ายของบริษัท หากแต่การเลิกจ้างนั้นไม่ได้เป็นเพียงทางเลือกเดียวที่นายจ้างสามารถทำได้ บทความนี้ได้เสนอว่าก่อนที่จะตัดสินใจเลิกจ้างนั้น นายจ้างควรพูดคุยกับลูกจ้างอย่างเปิดเผยเพราะถุกคนต่างได้รับผลกระทบและแลกเปลี่ยนบาดแผลที่ได้รับจากเหตุการณ์โรคระบาดในครั้งนี้ การกระจายปัญหาแก่พนักงานเพื่อช่วยกันคิดหาทางแก้ไข (Crowdsourcing) เพื่อแสดงให้เห็นถึงการมีสวนร่วมภายในองค์กรที่ต้องการจะผ่านวิกฤติครั้งนี้ไปให้ได้ สุดท้ายจึงค้นหาข้อเสนอทางออกอื่นๆและพิจารณาถึงผลกระทบที่จะมีต่อองค์กรหรือนายจ้างและพนักงานน้อยหรือเป็นเหตุเป็นผลมากที่ สุด รัฐบาลหลายประเทศได้เริ่มใช้นโยบายช่วยเหลือธุรกิจต่างๆที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดครั้งนี้โดยการสนับสนุนเงินช่วยเหลือเพื่อ ที่จะชะลอหรือยับยั้งการเลิกจ้าง เช่นในประเทศอังกฤษรัฐบาลได้ประกาศแผนรักษาการจ้างงานจากไวรัสโคโรน่า (Coronavirus Job Retention Scheme) โดยมีการจัดสรรเงินเพื่อสนับสนุนธุรกิจในระดับต่างๆ เช่น การเลื่อนการชำระ VAT และภาษีเงินได้ รวมถึงการจัดตั้งกองทุนเพื่อการกู้ยืมแก่ SMEs ที่ได้รับผลกระทบโดยตั้งงบประมานไว้ที่ 5 ล้านปอนด์ โดยแผนนี้มีเป้าหมายที่จะลดการเลิกจ้างโดยที่เจ้าของกิจการยังคงพอมีรายรับจากเงินช่วยเหลือเพื่อที่จะยังคงดำเนินกิจการของตัวเองต่อไปได้ จากที่ได้กล่าวมาทั้งหมด จะเห็นได้ว่านี้เป็นเพียงตัวอย่างกลุ่มธุรกิจกลุ่มเดียวเท่านั้นที่ได้ยิบยกขึ้นมาเพื่อให้เกิดการถกเถียงเชิงนโยบายว่าควรจะมีวิธีช่วยเหลือกลุ่มคนเหล่านี้ที่เปราะบางและสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียงานและความมั่นคงทางการเงิน
