Our Article
มาตรการเรื่องความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) มีความจำเป็นแล้วหรือยัง?
year 2020
Share on facebook
Facebook
Share on google
Google+
Share on twitter
Twitter
Share on linkedin
LinkedIn
Share on whatsapp
WhatsApp
เขียนโดย คุณนนทฤทธิ์ เพชรานนท์
ภาพโดย คุณญาดา พรชำนิ

เมื่อโดนกักกันตัวเอง เเละเว้นระยะห่างทางสังคม ในประเทศไทยเราผู้ที่ความพร้อมด้านทุนทรัพย์ เเละมีที่อยู่อาศัยเป็นหลักเป็นเเหล่งสามารถดูเเลตนเองท่ามกลางการเเพร่ระบาดของเชื้อโควิดเเละอาจจะไม่ต้องกังวลใจ เหมือนใครอีกหลายๆ คน ในสังคมว่า “กูติดเเล้วยังวะ?” เเต่สำหรับกลุ่มคนเปราะบางเเล้วคงเป็นเรื่องรอง จากการหารายได้ในเเต่ละวัน เพื่อดำรงชีวิต จึงเป็นโจทย์เเก่คนในสังคมเเละในประเทศว่าเราจะจะทำอย่างไรให้กลุ่มเสี่ยง กลุ่มคนเปราะบาง กลุ่มคนที่ยากลำบากในการดำรงชีวิตสามารถดำรงชีวิตได้ท่ามกลางวิกฤตครั้งนี้ อีกทั้งทำอย่างไร ให้สามารถ ลดการเเพร่ระบาดเชื้อ ป้องกัน ควบคุมการเเพร่ระบาดเชื้อได้? . ในวันนี้ทีม Urban Futures and Policy จะมาพูดถึงผลกระทบและมาตรการการเยียวยาต่างๆถึงปัญหาเรื่องความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) โดยที่เราจะมุ่งเน้นไปที่กลุ่มคนเปราะบางในสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสนี้สูงกว่าประชากรกลุ่มอื่น ไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 70 ปีซึ่งในกรุงเทพมหานคร ที่มีราว 1.1 ล้านคน ในจำนวนนี้มี 1 แสนคน หรือร้อยละ 10.8 ที่อาศัยอยู่คนเดียวตามลำพังหรืออยู่ลำพังกับคู่สมรส รวมถึงกลุ่มแรงงานหาเช้ากินค่ำ หรือกลุ่มคนไร้บ้าน (Homeless Population) ที่อาจไม่สะดวกในการสั่งซื้อทางออนไลน์ได้ ผ่านการยกตัวอย่างกรณีศึกษาจากประเทศต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นประเทศจีน ประเทศแคนาดา และประเทศไทยของเราว่าตอนนี้มีกลุ่มไหนที่ให้ความสำคัญถึงประเด็นนี้และพยายามที่จะช่วยเยียวยากลุ่มคนเปราะบางอยู่บ้าง

กรณีศึกษาแรกคือประเทศจีน ซึ่งเป็นประเทศที่เป็นจุดกำเนิดของไวรัสโควิด-19 จึงได้มีมาตรการเยียวยาที่ครอบคลุมในทุกมิติ รวมถึงเรื่องความมั่นคงทางอาหาร ในด้านความเพียงพอและระดับการเข้าถึงอาหารของทุกครัวเรือนโดยมีการร่วมผนึกกำลังระหว่างภาครัฐ และหน่วยงานในท้องถิ่นของนครอู่ฮั่นร่วมฝ่าวิกฤตโควิด-19 เพื่อสร้างความมั่นใจว่าในช่วงเวลาที่ยากลำบาก จากนั้นวางระบบศูนย์กระจายและขนส่งที่มีประสิทธิภาพ สร้างมาตรฐานจัดและแพคสินค้าได้ รวมทั้งระบบขนส่งครอบคลุม การแต่งกายและการดูแลขนส่งได้มาตรฐาน ขณะเดียวกันวางระบบกระจายสินค้าตามที่รัฐบาลกำหนด ซึ่งภายในอู่ฮั่นมีการแบ่งเขตชัดเจนโดยให้พนักงานขนส่งไปส่งตามจุดที่กำหนดไว้ และมีตัวแทนเขตหรืออาสาสมัครนำสินค้าไปส่งต่อให้กับประชาชนในเขตที่กำหนด ซึ่งร้านสะดวกซื้อ CP Freshmart ในจีนได้มีการวางระบบการส่งถึงบ้านอย่างรัดกุม การ“กระจายสินค้า” จากโรงงานเพื่อส่งถึงมือผู้บริโภคนั้น ใช้รูปแบบรวบรวมอาสาสมัครในแต่ละเขตพื้นที่และชุมชนทั่วนครอู่ฮั่นจำนวน 11,000 คน มาช่วยในการกระจายสินค้า โดยอาสาสมัครจะมารับสินค้าจากจุดหลักในการกระจายสินค้าและนำไปส่งต่อให้แก่พี่น้องในชุมชน ซึ่งอาสาสมัครเหล่านั้นจะรับใบสั่งซื้อหรือ Order ในวันถัดมากลับมาด้วย ซึ่งนอกจากซีพีในอู่ฮั่นจะดำเนินการร่วมกับเจ้าหน้าที่และหน่วยงานของอู่ฮั่นในการจัดส่งอาหารให้ถึงมือประชาชนแล้ว ยังร่วมส่งอาหารให้อาสาสมัครด้วย

ต่อมาที่กรณีศึกษาจากประเทศแคนนาดา ซึ่งมีการเรียกร้องรัฐบาลจากภาคประชาชนถึงการแก้ปัญหาเรื่องความมั่นคงทางอาหารในเมือง ไม่ว่าจะเป็นปริมาณอาหารหรือระดับความเข้าถึง...รัฐมนตรีกระทรวงสังคมของเเคนาดาก็ไม่ได้นิ่งนอนใจในการช่วยเหลือกลุ่มคนเปราะบางในสังคม โดยเฉพาะกลุ่มคนไร้บ้าน รัฐบาลกลางได้มีการประสานงานกับท้องถิ่นในการดูเเลกลุ่มคนเหล่านี้ ที่ประสบความยากลำยากในการใช้ชีวิต อีกทั้งยังมีความเสี่ยงเเก่การติดเชื้อจึงต้องเร่งรีบในการเรียกลุ่มคนดังกล่าวเข้ามาตรวจเชื้อ นอกจากนี้ผู้ไร้บ้านห้ากลุ่มใหญ่ในเมืองออตโตวา (Ottawa) ได้ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขในการกำหนดมาตรการรักษาสุขภาพเเก่ผู้อาศัยในย่านดังกล่าวร่วมกัน มากไปกว่านั้นทางรัฐบาลยังมองเห็นถึงความเสี่ยงของกลุ่มคนไรบ้าน (Homeless Population) และได้จัดตั้งทีมที่ลงไปตรวจหาเชื้อให้กับคนกลุ่มนี้อย่างทั่วถึง รวมถึงการทำความสะอาดสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อในพื้นที่สาธารณะในอีกระดับหนึ่ง นอกจากนี้ประเทศแคนาดายังมีการกระจายบทบาทหน้าที่เพื่อให้คนทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงอาหารได้อย่างทั่วถึงโดยมีการกระจายงบประมาณจากรัฐบาลไปสู่กลุ่มองค์กรสาธารณะกว่า 160 องค์กรที่ช่วยเหลือ ดูเเลกลุ่มคนเปราะบาง โดยเฉพาะกลุ่มคนไร้บ้าน ให้สามารถเข้าถึงอาหารที่ดีได้อย่างทั่วถึง เพื่อนำมาช่วยเหลือกลุ่มคนเปราะบางท่ามกลางการเเพร่ระบาดของโควิด
