เมื่อการเยียวยาจากรัฐบาลไม่สามารถเข้าถึงทุกคนได้… ชุมชนจะมีวิธีอย่างไรในการใช้ชีวิตอยู่ในช่วงเวลาวิกฤติครั้งนี้?

Our Article

เมื่อการเยียวยาจากรัฐบาลไม่สามารถเข้าถึงทุกคนได้… ชุมชนจะมีวิธีอย่างไรในการใช้ชีวิตอยู่ในช่วงเวลาวิกฤติครั้งนี้?

year 2020

Share on facebook
Facebook
Share on google
Google+
Share on twitter
Twitter
Share on linkedin
LinkedIn
Share on whatsapp
WhatsApp

เรียบเรียงโดยคุณญาดา พรชำนิ

ภาพโดยคุณนวรัตน์ แววพลอยงาม และคุณญาดา พรชำนิ

จากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และการประกาศใช้มาตรการ ’การเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing)’ ที่ดำเนินมาระยะหนึ่งแล้วนั้นนั้นส่งผลให้เกิดผลกระทบมากมาย ไม่ว่าจะเป็นในแง่เศรษฐกิจ สังคมและสุขภาพ ซึ่งส่งผลให้เกิดเสียงสะท้อนจากหลายๆภาคส่วนของเมือง โดยเฉพาะจากกลุ่มผู้เปราะบางถึงการเยียวยาจากรัฐบาล และถึงแม้ว่ารัฐบาลนั้นจะประกาศถึงมาตรการเยียวยาต่างๆ เช่นเงินชดเชย 5000 บาทในระยะเวลาสามเดือนสำหรับผู้ลงทะเบียน เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำหรือประกันชดเชยค่าไฟฟ้า แต่ทว่ายังมีกลุ่มประชาชนจำนวนมากที่ไม่สามารถเข้าถึงการช่วยเหลือตรงนี้ได้ รวมถึงชุมชนนางเลิ้ง กรุงเทพมหานครถึงแม้ว่าชุมชนนี้ได้รับผลกระทบของการระบาดของไวรัสและการปรับ ใช้มาตรการการเว้นระยะห่างทางสังคมอย่างหนักหน่วง เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ของชุมชนนั้นเป็น ผู้ประกอบการร้านอาหารในตลาดนางเลิ้ง หรือรับจ้างทั่วไป รวมถึงยังมีจำนวนผู้สูงอายุอยู่ไม่น้อย แต่ทางชุมชนนั้นกลับมีวิธีรับมือต่อวิกฤติด้วยตัวเองโดยมีความตั้งใจและความร่วมมือของประชาชนใน ชุมชนเป็นฐานหลักซึ่งน่าสนใจ ยั่งยืนและทั่วถึงสำหรับทุกๆกลุ่มคนของชุมชนนางเลิ้ง

เนื่องจากมาตรการการเยียวยาของรัฐบาลนั้น จำเป็นที่จะต้องมีการลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น www.เราไม่ทิ้งกัน.com เพื่อรับเงินชดเชย หรือประกันค่าไฟฟ้าที่จำเป็นจะต้องลงทะเบียนกับเว็บไซต์ของการไฟฟ้าโดยตรงนั้นส่งผลให้เกิดการตกหล่นของประชาชนหลายกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางที่ไม่สามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ต ไม่มีโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือไม่มีความรู้ที่จะใช้งาน จึงส่งผลให้การรับรู้สิทธิของตนเองในการเยียวยาของรัฐบาลลดลง มากไปกว่านั้น นโยบายการเว้นระยะห่างทางสังคมยังส่งผลให้คนออกมาจับจ่ายใช้สอยในพื้นที่ตลาดนางเลิ้งลดลง จนส่งผลให้ผู้ประกอบการมีรายได้ที่น้อยลง รวมถึงของที่เหลือมากขึ้นในทุกๆวัน นอกจากกลุ่มผู้ประกอบการแล้วนั้น กลุ่มที่ได้รับผลกระทบรุนแรงไม่ต่างกันคือพระภิกษุโดยไม่มีผู้คนออกมาใส่บาตร ซึ่งส่งผลกระทบไปสู่วงกว้าง ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มคนไร้บ้าน ผู้สูงอายุ รวมทั้งสัตว์จรจัดที่จำเป็นจะต้องพึ่งพาอาหารจากทางวัด ชุมชนเป็นฐานหลักซึ่งน่าสนใจ ยั่งยืนและทั่วถึงสำหรับทุกๆกลุ่มคนของชุมชนนางเลิ้ง

จากปัญหาที่กล่าวไปข้างต้นนั้น ส่งผลให้ประชาชนในชุมชนมาประชุมเพื่อหาวิธีการแก้ปัญหาร่วมกัน ซึ่งเริ่มจากการแก้ปัญหาแรกคือปัญหาความไม่เท่าเทียมของการเข้าถึงสิทธิ์ในแบบออนไลน์ โดยที่ทางชุมชนจะจัดทำกลุ่มไลน์ (LINE) เฉพาะกิจของชุมชนเพื่อกระจายข่าวสารต่างๆ รวมถึงมีทีมอาสาสมัครเยาวชนในชุมชนที่ช่วยให้ความรู้กับผู้สูงอายุ ในภาษาที่เข้าใจง่าย ตามมาด้วยปัญหาที่สองที่พูดถึงรายได้ที่ลดน้อยลงของแม่ค้าพ่อค้าหรือผู้ประกอบการภายในตลาดนางเลิ้ง โดยการจัดทำบริการจัดส่งอาหาร (Food Delivery) ภายใต้ชื่อ ‘บ้านนางเลิ้ง - Baan Nang Lerng’ ที่ได้รวบรวมร้านอาหารในตลาดไว้ทั้งหมด และดำเนินการโดยคนในชุมชนเองในการซื้อขายผ่านแอพพลิเคชั่นส่งอาหารต่างๆ รวมถึงเพจในเฟสบุ๊ค ซึ่งอาหารทั้งหมดจะผลิตและรับออเดอร์วันต่อวัน เพื่อความสดใหม่และความหลากหลายของอาหาร ต่อมายังมีการจัดทำสวนครัวชุมชน โดยประสานกับประชากรในชุมชนกลุ่มต่างๆ รวมถึงเครือข่ายชุมชนพื่อหาคนที่มีความสนใจในการทำเรื่องนี้ โดยมีจุดแจกอาหารหรือครัวกลางที่ถูกตั้งขึ้นในจุดที่ชุมชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย เพื่อแจกจ่ายอาหารให้ทั่วถึงโดยคณะกรรมการและอาสาสมัครชุมชน รวมถึงวัตถุดิบเพื่อประกอบอาหารต่างๆจากเครือข่ายส่วนผักคนเมือง เพื่อให้คนในชุมชนสามารถเข้าถึงอาหารที่ดีและมีคุณภาพได้ มากไปกว่านั้น ทางชุมชนยังคิดถึงการนำวิธีการแก้ปัญหาระหว่างวิกฤติเหล่านี้ ไปพัฒนาเพื่อจัดทำเป็นแอพพลิเคชั่นหรือเว็บไซต์ของชุมชนเอง เพื่อรองรับและช่วยเหลือกันภายในชุมชนทั้งระหว่างเวลาที่ประสบวิกฤติและหลังจากนี้ โดยที่ตัวแอพพลิเคชั่นจะสามารถสร้างอาชีพและรายได้ให้กับชุมชนเป็นวงจรที่ยั่งยืน ยกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเช่นการทำโปรแกรมส่งอาหารจากชุมชนที่จัดส่งโดยวินมอเตอร์ไซค์ของชุมชนเอง โดยที่ผู้ประกอบการจะได้รับรายได้เพิ่มไปพร้อมๆกับพี่วินมอเตอร์ไซค์ที่จะได้รับรายได้ไปด้วยเช่นกัน จึงทำให้มีเงินหมุนเวียนภายในชุมชนอย่างแท้จริงและยั่งยืนนั่นเอง . จากที่เราได้เล่าให้ฟังไป ถือเป็นการแก้ปัญหาและรับมือต่อวิกฤติที่สร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพมาก แต่ทว่ารัฐฯควรจะมีบทบาทอย่างไรที่จะทำให้โครงการนี้สามารถดำเนินต่อไปได้โดยที่ชุมชนยังคงสามารถอยู่ได้โดยมีกลไกของรัฐเข้ามาสนับสนุนเพื่อให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืนมากขึ้นในอนาคต?

บทความจาก

คุณญาดา พรชำนิ

References

คุณนวรัตน์ แววพลอยงาม สมาชิกชุมชนนางเลิ้ง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.