Our Article
คนจนเมือง...
ผู้อยู่ล่างสุดในห่วงโซ่ Covid-19
ผู้อยู่ล่างสุดในห่วงโซ่ Covid-19
year 2020
Share on facebook
Facebook
Share on google
Google+
Share on twitter
Twitter
Share on linkedin
LinkedIn
Share on whatsapp
WhatsApp
เขียนโดย คุณภัชศุ นรการกุมพล
ภาพโดย คุณญาดา พรชำนิ

เมื่อไม่นานมานี้ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ได้เผยแพร่บทสรุปผลสำรวจ “คนจนเมืองในภาวะโควิด-19 และข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล” โดยคณะนักวิจัยจากโครงการวิจัยคนจนเมืองที่เปลี่ยนไปในสังคมเมืองที่กำลังเปลี่ยนแปลง และมี ศ.ดร. อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ เป็นหัวหน้าชุดโครงการฯ รายงานสรุปผลสำรวจนี้มีข้อมูลที่น่าสนใจและเป็นตัวชี้วัดที่ดีที่แสดงให้เห็นถึงความลำบากของกลุ่มคนเปราะบางที่เราได้นำเสนอมาตลอดในเดือนที่ผ่านมาและทำให้เห็นภาพที่ชัดเจนมากขึ้นผ่านการเก็บแบบสำรวจจำนวน 507 ชุด ซึ่งมีอาชีพส่วนใหญ่คือรับจ้างรายเดือนแต่ไม่มีประกันสังคม รับจ้างรายวัน และค้าขาย โดยเก็บแบบสอบถามใน 18 จังหวัด โดยมีข้อสรุปที่เป็นสาระสำคัญอยู่ 3 ประเด็น

1. คนจนเมืองเกือบทั้งหมด (89.90%) ใส่หน้ากากอนามัยก่อนออกจากบ้านทุกครั้งไม่ว่าจะเป็นหน้ากากที่ทำมาจากกระดาษหรือจากผ้าก็ตาม และกว่า 44.27% พกเจลหรือแอลกอฮอล์ล้างมือติดตัวเสมอ ข้อสรุปนี้ทำให้รู้ว่าคนจนเมืองเองก็ได้รับผลกระทบไม่ต่างอะไรกับคนชนชั้นที่มายได้มากกว่าแต่อย่างไร ซึ่งในขณะเดียวกับได้รับผลกระทบมากกว่าด้วยซ้ำทั้งในเรื่องของรายได้ที่หายไปจากการเลิกจ้างบ้างหรือพื้นที่ทำมาหากินถูกปิดลงหรือห้ามใช้ ไหนจะต้องเอาเงินมาช่วยเหลือตัวเองซื้ออุปกรณ์ เช่น หน้ากากอนามัยและเจลล้างมืออีก ข้อสรุปนี้ยังกล่าวอีกว่าหากสมาชิกในครอบครัวติดเชื้อโควิดขึ้นมา ผู้ตอบแบบสอบถามมีพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการแยกตัวหรือกักกันตัวเองจากผู้อื่นหรือไม่ ซึ่งกว่าครึ่ง (43.79%) ตอบว่าไม่มี ซึ่งเราได้เน้นย้ำไปแล้วว่าการกักกันตัวเอง (Self-quarantine) หรือแม้แต่การเว้นระยะห่างทางสังคม (Social distancing) นั้นมีราคาที่ต้องจ่ายและไม่ใช้ทุกคนที่จะมีทุนทรัพย์เพียงพอ

2. มาตรการต่างๆของรัฐที่จำกัดการทำกิจกรรมนอกที่อยู่อาศัยส่งผลต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่อกลุ่มคนจนเมืองเป็นอย่างมากและเดือดร้อนเป็นวงกว้าง พวกเราได้พูดไปแล้วว่ากลุ่มอาชีพที่ต้องอาศัยการให้บริการแบบเผชิญหน้า หรือ Face-to-face นั้นจะได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคนี้ที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคธุรกิจการให้บริการต่างๆซึ่งรวมถึงเหล่าพ่อค้าแม่ค้า กลุ่มลูกจ้างชั่วคราว และลูกจ้างรายวัน ซึ่งการระบาดของโควิด-19นี้ส่งผลให้นายจ้างนั้นงดการจ้างในกลุ่มลูกจ้างรายวันและลูกจ้างชั่วคราว บางธุรกิจอาจจะขอให้พนักงานหยุดงานโดยไปจ่าย (Leave without pay) ในผลข้อสรุปของรายงานนี้ชี้ไปในทางเดียวกันว่าโควิด-19 ทำให้พวกเขาถูกนายจ้างให้หยุดงาน (18.87%) ขอให้ลดเวลางานและรายได้ลดลง (18%) และผู้ประกอบอาชีพค้าขายและแผงลอยไม่สามารถค้าขายได้ (18.22%) รวมถึงกลุ่มอาชีพอิสระ เช่น มอเตอร์ไซด์รับจ้างก็ได้รับผลกระทบจากการลดลงของการจ้างหรือไม่มีการจ้างเลยเช่นกัน (18.44%) จากปัจจัยเหล่านี้ทำให้กว่า 60.24% ของผู้ตอบแบบสอบถามมีรายได้ลดลงเกือบทั้งหมด จากค่าเฉลี่ยของผู้ตอบแบบสอบถามพบคนจนเมืองมีรายได้ลดลงกว่า 70.84% ซึ่งโดยเฉลี่ยหากไม่มีวิกฤตโควิด-19เกิดขึ้น พวกเขาจะมีเงินเดือนอยู่ราย 13,397 บาท ลบไป 70.84% เหลือ 3,906 บาทเท่านั้น ซึ่งนั้นไม่เพียงพอต่อการใช้ชีวิตตลอดหนึ่งเดือนอย่างแน่นอน นี้ยังไม่รวมถึงค่ากินค่าใช้ที่ต้องจ่าย การเดินทางไปซื้ออาหารและของใช้จำเป็นต่างๆ รวมถึงหนี้ที่ต้องส่งทุกเดือน โดยจำนวนเงินเพียงเท่านี้ถือว่าลำบากมากสำหรับการใช้ชีวิตในปัจจุบันซึ่งกว่า 54.41% ของผู้ตอบแบบสอบถามยอมรับว่าไม่มีเงินไปชำระหนี้สินทั้งในและนอกระบบ และลืมการ Work from home ไปได้เลย เพราะกว่า 78.97% ของผู้ตอบแบบสอบถามบอกว่าอาชีพของพวกเขานั้นไม่สามารถทำที่บ้านได้
