เมืองที่ฝันสลาย: ความฝันแบบอเมริกันที่เปลี่ยนไป… กับการมาถึงของโควิด-19

Our Article

เมืองที่ฝันสลาย:
ความฝันแบบอเมริกันที่เปลี่ยนไป...
กับการมาถึงของโควิด-19

year 2020

Share on facebook
Facebook
Share on google
Google+
Share on twitter
Twitter
Share on linkedin
LinkedIn
Share on whatsapp
WhatsApp

เขียนโดย คุณภัชศุ นรการกุมพล

ภาพโดย คุณญาดา พรชำนิ

ความฝันแบบอเมริกัน หรือ American dream นั้นหากจะพูดให้เข้าใจได้ง่ายก็คือการที่ทุกคนนั้นหากมีความพยายามทุกอย่างก็สามารถเป็นจริงได้ หลังจากที่อเมริกาประกาศอิสรภาพในปี ค.ศ. 1776 พร้อมกับคำพูดติดหูที่หลายคนเคยได้ยิน เช่น “All men are created equal” หนุ่มสาวชาวอเมริกันต่างพยายามดิ้นร้นเพื่อให้ตัวเองได้มีชีวิตที่ดีขึ้น โดยการมีชีวิตที่ดีขึ้นนั้นส่วนหนึ่งเกิดจากการฉายภาพซ้ำในโฆษณาชวนเชื่อและภาพยนต์ต่างๆ หนึ่งในสัญลักษณ์ที่ชัดเจนมากของการมีชีวิตที่ดีคือการมีบ้านเดี่ยวหลังใหญ่ในแถบชานเมือง มีรั้วรอบขอบชิดที่กั้นระหว่างบ้านแต่ละหลังอย่างชัดเจน สุนัขหนึ่งตัวพร้อมกับสนามสีเขียวชะอุ่ม แต่ว่า การมาของโรคระบาดอย่างโควิด-19นั้นอาจจะทำให้การเลือกที่อยู่อาศัยตามแนวความคิดในอุดมคตินี้เปลี่ยนไปหรือไม่โดยเฉพาะในกลุ่มของชาว Baby Boomer วัยเกษียณ

เว็บไซต์ Forbes ได้พูดถึงความเป็นไปได้ของทิศทางการเลือกที่อยู่อาศัยของคนยุค Baby Boomer ในโลกหลังโควิด-19 เมื่อเกิดการแพร่ระบาดของโรค เมืองใหญ่ในอเมริกาอย่าง นิวยอร์ค และ บอสตัน ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงอันเป็นผลมาจากการขาดพื้นที่อยู่อาศัยซึ่งมีขนาดเล็กกว่าที่อยู่อาศัยในเขตที่ชานเมืองหรือพื้นที่ที่ไม่ใช้เมืองอย่างมีนัยสำคัญ และเนื่องจากเป็นเมืองที่มีความหนาแน่นสูงพื้นที่สาธารณะ เช่น สวนสาธารณะ สนามกีฬา หรือแม้แต่ร้านขายของนั้นทำให้การเว้นระยะห่างทางสังคมในหลายพื้นที่นั้นเป็นไปได้ยาก อีกทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้ออีกด้วย เหล่า Baby Boomer ที่เคยต้องการที่จะย้ายจากบ้านในชานเมืองเข้าสู่เมืองซึ่งจะช่วยให้การเข้าถึงระบบสาธารณสุขต่างๆง่ายขึ้นในวัยเกษียณก็ต้องกลับมานั่งคิดว่าเมื่อเกิดโควิด-19ขึ้นแล้ว ตัวพวกเขาเองยังควรที่ย้ายมาใช้ชีวิตวัยเกษียณในเมืองใหญ่อยู่หรือไม่ ซึ่งทาง Forbes ได้ให้ความคิดเห็นแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ดังนี้

1. ย้ายเข้ามาอยู่ในเมืองเหมือนเดิม
ในกรณีแรกนั้นจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อตัวเลือกทางที่อยู่อาศัยนั้นมีความหลากหลายเพียงพอ หมายความว่า จะต้องมีตัวเลือกที่อยู่อาศัยที่มีพื้นที่ใช้สอยมากกว่าตัวเลือกที่อยู่อาศัยในเมืองและมีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกให้ได้ใช้เช่นห้องฟิตเนสเอาไว้ใช้ออกกำลังกายหากต้องกักตัวอีกครั้ง

2. ย้ายสู่พื้นที่เมืองความหนาแน่นต่ำ
พื้นที่เมืองความหนาแน่นต่ำในที่นี้หมายถึงบริเวณเมืองที่อาจจะไม่ได้มีความหนาแน่นมากนักแต่ก็ยังอยู่ในบริเวณเมืองอยู่ ซึ่งนี้รวมถึงพื้นที่ชานเมืองด้วย โดยพื้นที่ในลักษณะนี้อาจจะเป็นเมืองเล็กๆที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกตั้งอยู่ในระยะที่สามารถเดินได้แต่ก็เชื่อมด้วยขนส่งสาถารณะ เช่น รถไฟ เข้าสู่เมืองใหญ่ได้อยู่

3. ชานเมือง
พื้นที่ชานเมืองซึ่งเป็นพื้นที่ที่เหล่า Baby Boomer อาศัยอยู่จะยังคงเป็นพื้นที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่ของคนกลุ่มนี้อยู่หลังโควิด-19 จากรายงานของ AARP ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรในอเมริกาพบว่า 87% ของคนอเมริกันวัยเกษียณอยากที่จะอยู่ในชุมชนเดิมๆของตัวเองไปเรื่อยๆโดยอาจจะมีการปรับแต่งบ้านให้เข้ากับสถานการณ์หรือความต้องการให้มากขึ้น
.
.
.
.
จากทั้ง 3 กรณี พวกเราอยากจะชวนทุกท่านมาคุยกันว่าสำหรับในกรณีของประเทศไทยนั้น ท่านคิดว่าคนวัยเกษียณจะมีทิศทางการเลือกที่อยู่อาศัยในโลกหลังยุคโควิด-19ยังไง ?
.
.
.
.
มาร่วมพูดคุยและแชร์กับพวกเราได้ในคอมเม้นด้านล่างได้เลยครับ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.