วิกฤติโควิดสู่นโยบายเมืองที่ยั่งยืน

Our Article

จากการฝ่าวิกฤติโควิด-19…

สู่นโยบายเมืองที่ยั่งยืนในอนาคต

year 2020

Share on facebook
Facebook
Share on google
Google+
Share on twitter
Twitter
Share on linkedin
LinkedIn
Share on whatsapp
WhatsApp

เขียนโดย คุณภัชศุ นรการกุมพล และ คุณญาดา พรชำนิ

ภาพโดย คุณญาดา พรชำนิ

เป็นเวลากว่า 5 เดือนแล้วนับตั้งแต่พบคนไทยคนแรกที่ติดเชิ้อโควิด-19 ตลอดเวลาที่ผ่านมานั้น เราให้เห็นการปรับตัวตั้งแน่ระดับบุคคลไปจนถึงระดับประเทศเพื่อให้อยู่ได้กับสถาณการณ์วิกฤติเช่น เราได้เห็นการใส่หน้ากากซึ่งเป็นการปรับตัวรูปแบบแรกๆที่หลายคนทำกัน และเมื่อหน้ากากทางการแพทย์ (Surgical mask) ขาดตลาด หลายคนพยายามที่จะสั่งซื้อจากต่างประเทศหรือแม้กระทั่งตัดเย็บหน้ากากด้วยตัวเอง การกักตุนอาหารที่ยากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้หลายครอบครัวต้องกลับมาคิดบริหารทรัพยากรอย่างรอบคอบเพราะการออกไปจ่ายตลาดซักครั้งนั้นหมายถึงการเอาตัวเองออกไปเผชิญความเสี่ยง ทำให้อาชีพผู้ใหบริการรับส่งอาหารและของใช้เป็นที่นิยมในหลายชุมชนเมืองรวมถึงบริการส่งพัสดุต่างๆก็ได้รับความนิยมในการส่งอาหารและทำให้การขายอาหารออนไลน์เป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางมากกว่าเดิม รูปแบบการทำงานของชาวออฟฟิศก็เปลี่ยนไป จากต้องเข้าออฟฟิศทุกวันก็ปรับมาทำงานที่บ้าน (Work from Home) แทน
ในระดับเมือง เราได้ให้เห็นเมืองในหลายประเทศต่างสรรหามาตรการต่างๆโดยหวังว่าจะสามารถช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้น ในประเทศไทยเองก็มีการประกาศเคอร์ฟิวตั้งแต่ 4 ทุ่มเป็นต้นไปและขอให้ผู้ประกอบการร้านค้าให้ปรับวิธีบริการต่างๆ เช่น ห้ามรับประทานอาหารในร้าน จำกัดคนเข้า หรือการวัดไข้และขอให้ล้างมือด้วยเจลก่อนเข้าใช้บริการทุกครั้ง วันนี้เราจะมาดูว่าชุมชนเมืองในต่างประเทศมีวิธีปรับตัวอย่างไรหลังจากต้องเผชิญกับไวรัสโควิด-19 มาเป็นระยะนึงแล้ว เว็บไซต์ของ Reuter ได้พาเราไปสำรวจนวัตกรรมในเมืองต่างๆทั่วโลกว่าเขามีการปรับตัวอย่างไรต่อโควิด-19 อย่างที่เคยเกิดขึ้นในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษในช่วงปี 1830 การระบาดของอหิวาตกโรคนำไปสู่การจัดการสุขาภิบาลที่ดีขึ้น หรือการระบาดของวัณโรคในมหานครนิวยอร์กในช่วงต้นของศตวรรตที่ 20 ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาการจัดการระบบขนส่งสาธารณะและที่อยู่อาศัย

จากการเคลื่อนที่ (Mobility) สู่เรื่องโภชนาการ
เมือง โบโกตา ประเทศโคลัมเบีย เมืองฟิลาเดเฟีย รัฐเพนซิเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา และ ปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมืองเหล่านี้ต่างพยายามที่จะลดระยะเวลาการเดินทางผ่านการสร้างเส้นทางจักรยาน ทางเท้า ให้มีความสะดวกต่อการผู้คนในช่วง Lockdown และยังสามารถช่วยลดมลภาวะในเมืองได้อีกด้วย ในประเทศสิงคโปร์กว่า 90% ของอาหารมาจากการนำเข้า ทำให้ในสถานการณ์เช่นนี้ความปลอดภัยทางอาหารจึงตกอยู่ในภาวะเสี่ยง สำนักงานอาหารแห่งสิงคโปร์ (Singapore Food Agency) ถึงกับออกมากล่าวว่า “ โควิด-19 ทำให้เรามองเห็นถึงความสำคัญของการผลิตอาหารเองในท้องถิ่นมากขึ้น การผลิตอาหารในท้องถิ่นจะช่วยให้เราลดการพึ่งพาการนำเข้าอาหารและยังสามารถช่วยเป็นเกราะกำบังที่ดีในช่วงที่มีการหยุดชะงักทางอาหาร (Food Disruption)” สถาบันเพื่อการศึกษาแห่งชาติของสิงคโปร์ยังบอกอีกว่า “การทำเกษตรในเมือง (Urban Farming) นั้นมีศักยภาพในการสร้างประโยชน์ในหลายด้าน เช่น การพัฒนาความกินดีอยู่ดี การเสริมสร้างโภชนาการในครัวเรือนในชุมชนแออัด”
เมืองที่พยายามสู่ความก้าวหน้า (Thriving Cities)
เมืองที่มีรายได้หลักมาจากอุตสาหกรรมท่องเที่ยวได้รับผลกระทบอย่างมากจากไวรัสโควิด-19 อย่างเช่นกรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นเมืองที่มีนักท่องเที่ยวแน่นหน้าในทุกช่วงของปี แต่เพราะโควิด-19 ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีแนวคิดที่จะใช้นโยบาย Doughnut Model ซึ่งคิดค้นโดยคุณเคท ราเวิร์ธ (Kate Raworth) นักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษ โดยกำหนดให้ภายในศูนย์กลางเมืองนั้นประกอบไปด้วยสิ่งจำเป็นต่อชีวิตประจำวันต่างๆ เช่น ที่อยู่อาศัย อาศัย น้ำ สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ โดยวงแหวนนอกสุดของเมืองจะเป็นพื้นที่เพื่อการเพื่อเป้าหมายเชิงนิเวศ เช่น ความหลากทางชีวภาพ มาตรการเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Climate Change) โดยพื้นที่ระหว่างวงแหวนชั้นในสุดที่เป็นพื้นที่ที่เต็มไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อที่บริเวณที่เมืองสามารถที่จะพัฒนาให้เกิดความสมดุลระหว่างความต้องการพื้นฐานของมนุษย์และความจำเป็นของการรักษาระบบนิเวศซึ่งทั้งสองประเด็นนี้มีโอกาสที่จะเติบโตไปด้วยกันได้

เกษตรคนเมืองหรือ Urban Farming นั้นเป็นคอนเซปท์ที่เริ่มมาจากแนวคิดง่ายๆว่าเราจะสามารถสร้างแหล่งอาหาร อย่างเช่นสวนผักชุมชนอย่างไร ในพื้นที่เมืองที่มีพื้นที่ในการปลูกจำกัด จึงจำเป็นต้องนำไปปรับใช้ตามดาดฟ้าตึกสูง หรือการทำสวนแนวตั้ง (Vertical Garden) เป็นต้น ซึ่งแนวคิดนี้ไม่ใช่แค่สามารถเพิ่มแหล่งอาหารให้กับชุมชนเมืองได้ แต่ยังสามารถเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับเมืองอีกด้วย โดยตัวอย่างกรณีศึกษาเกษตรในเมืองที่เห็นได้ชัดในประเทศไทยนั้นสามารถอ้างอิงได้จากกลุ่ม สวนผักคนเมือง: ปลูกเมือง ปลูกชีวิต ที่เริ่มจากการตระหนักถึงปัญหาของคนเมืองในด้านความ (Food Security) รวมถึงปัญหาทางสุขภาพ สังคมและสิ่งแวดล้อมของเมือง พร้อมๆไปกับการเน้นเรื่องบทบาทของเกษตรในเมืองเพื่อผลักดันให้มีการเปลี่ยนแปลงระดับนโยบายเมืองถึงความสำคัญของเรื่องนี้มากขึ้นโดยที่ทางหน่วยงานจะมีการสนับสนุนโครงการขนาดเล็กเพื่อสร้างพื้นที่ต้นแบบของการทำเกษตรในเมือง การพัฒนาข้อมูลงานวิชาการเกษตรในเมือง ร่วมถึงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ พร้อมกับการผลิตสื่อความรู้เพื่อเผยแพร่ในรูปแบบต่างๆ .
.
.
.
.
แล้วถ้ากรุงเทพมหาครสามารถผลักดันด้านมั่นคงทางอาหารนี้ให้เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายของเมือง เมืองของเราจะมีความพร้อมสำหรับทุกคนในเมืองได้ขนาดไหนนะ?

บทความจาก

คุณภัชศุ นรการกุมพล และ คุณญาดา พรชำนิ

จากทีม Urban Futures and Policy

References

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.