urban resilience
โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการขับเคลื่อนนโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ของประเทศ: การพัฒนาระบบฐานข้อมูลความเสี่ยงเชิงพื้นที่จากการเปลี่ยนแปลง
สภาพภูมิอากาศ (RISK MAP)
year 2021
Share on facebook
Facebook
Share on google
Google+
Share on twitter
Twitter
Share on linkedin
LinkedIn
Share on whatsapp
WhatsApp
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหน่วยงานหลักจัดทำนโยบายและแผนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศและหน่วยประสานงานกลางของประเทศภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) ได้จัดทำแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ (National Adaptation Plan: NAP) เพื่อเป็นกรอบแนวทางของประเทศในการบูรณาการประเด็นด้านการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในแผนและยุทธศาสตร์ในรายสาขาและในเชิงพื้นที่ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม โดยแผนการปรับตัวฯ มุ่งหวังให้ประเทศไทยมีภูมิคุ้มกันและสามารถปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในสาขาสำคัญ 6 สาขา ได้แก่ 1) การจัดการน้ำ 2) การเกษตรและความมั่นคงทางอาหาร 3) การท่องเที่ยว 4) สาธารณสุข 5) การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และ 6) การตั้งถิ่นฐานและความมั่นคงของมนุษย์ รวมทั้งการดำเนินงานในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับหลายสาขา โดยแผนการปรับตัวฯ ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติแล้ว เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2561
อย่างไรก็ตาม ในการบูรณาการและขับเคลื่อนแผนการปรับตัวฯ ในรายสาขาและเชิงพื้นที่ จำเป็นต้องมีข้อมูลความเสี่ยงเชิงพื้นที่จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อนำมาใช้ในการวางแผนในประเด็นรายสาขาที่คาดการณ์ว่าอาจมีความเสี่ยงต่อการได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ และใช้สนับสนุนการตัดสินใจเชิงนโยบายและบูรณาการเข้าสู่การจัดทำนโยบายและแผนของหน่วยงานและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น การพัฒนาระบบฐานข้อมูลความเสี่ยงเชิงพื้นที่ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้เป็นฐานข้อมูลกลางของประเทศ จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในรายสาขาหรือในเชิงพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับแผนการปรับตัวฯ อีกทั้งยังเป็นช่องทางในการสร้างการรับรู้สาธารณะอย่างเป็นรูปธรรมและเข้าถึงได้โดยง่าย โดยการพัฒนาระบบฐานข้อมูลดังกล่าว เป็นการดำเนินงานที่สำคัญของประเทศตามแผนการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่กำหนดให้เร่งรัดจัดทำฐานข้อมูลกลางข้อมูลความเสี่ยงเชิงพื้นที่ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 – 2580) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2565) นโยบายรัฐบาล และแผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (พ.ศ. 2558 – 2593) รวมทั้งสอดคล้องกับการดำเนินงานตามพันธกรณีความตกลงปารีสและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 13 และเป็นการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 (Thailand 4.0) ด้วย
วัตถุประสงค์
เพื่อจัดทำและเผยแพร่ระบบฐานข้อมูลความเสี่ยงเชิงพื้นที่จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศ ที่ทุกภาคส่วนสามารถเข้าถึงและใช้งานได้
เป้าหมาย (เชิงผลผลิต)
มีระบบฐานข้อมูลความเสี่ยงเชิงพื้นที่จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศที่ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
วิจิตรบุษบา มารมย์ เป็นผู้วิจัยสำหรับสาขาการตั้งถิ่นฐาน ในการศึกษานี้ เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมืองในทุกมิติที่จะมีความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้ทบทวนวรรณกรรมและพิจารณาคัดเลือกตัวแปรที่ไม่ใช่ภูมิอากาศ จากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการประเมินความเปราะบางและความสามารถในการปรับตัว ได้แก่ IPCC UNFCCC และ GIZ นำมากำหนดความเสี่ยง ทั้งนี้ ความเสี่ยงทางตรงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในสาขาการตั้งถิ่นฐาน (การพัฒนาเมือง) ประกอบไปด้วย i) พื้นที่ทางเศรษฐกิจและบ้านเรือนได้รับความเสียหาย ii) โครงสร้างพื้นฐานและอาคารในเมืองไม่สามารถใช้งานได้ และ iii) การบาดเจ็บจากเหตุการณ์สภาวะสุดขั้วของสภาพอากาศ ในขณะที่ความเสี่ยงทางอ้อม เป็นผลกระทบในทางกายภาพ ด้านเศรษฐกิจ-สังคม รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานในเมือง ประกอบไปด้วย i) ระบบเศรษฐกิจเมือง การประกอบกิจการต่าง ๆ ในเมืองหยุดชะงักลง ii) การคมนาคมขนส่งของเมือง การเดินทางลำบากไม่สะดวกหรือมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น iii) การเคลื่อนย้ายกลุ่มเปราะบางของเมืองมีความลำบากในยามวิกฤต iv) การขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภคของสังคมเมือง ส่งผลให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น หรือต้องมีการการลงทุนเพิ่มขึ้น v) มีการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของเมืองเพิ่มขึ้น vi) การเคลื่อนย้ายของการตั้งถิ่นฐานและการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประชากรในเมือง เป็นต้น
Research Team
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จิรสรณ์ สันติสิริสมบูรณ์
ศูนย์วิจัยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศระดับภูมิภาคและพลังงานทดแทน
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จารุทัศน์ สันติสิริสมบูรณ์
ศูนย์วิจัยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศระดับภูมิภาคและพลังงานทดแทน
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรัญญู วงษ์เสรี
ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ดร. ชิษณุชา บุดดาบุญ
กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปัทมา สิงหรักษ์
คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รองศาสตราจารย์ ดร.วิจิตรบุษบา มารมย์
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ดร.กรรณิการ์ ธรรมพานิชวงค์
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดำรงค์ฤทธิ์ เศรษฐ์ศิริโชค
ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
นางสาวขวัญฤทัย ศรีแสงฉาย
ศูนย์วิจัยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศระดับภูมิภาคและพลังงานทดแทน
มหาวิทยาลัยรามคำแหง