urban resilience
Thailand’s Second Assessment Report on Climate Change 2016 (2nd -TARC)
year 2017
รายงานการสังเคราะห์และประมวลสถานภาพองค์ความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของไทย ครั้งที่ 2
ปี พ.ศ.2560
Share on facebook
Facebook
Share on google
Google+
Share on twitter
Twitter
Share on linkedin
LinkedIn
Share on whatsapp
WhatsApp
(สำหรับภาษาไทย กรุณาเลื่อนลง)
One important issue to be addressed when considered about the adaptation toward climate change is the life of people who will face with high risk posed by the impact of climate change. Especially for urban residents, the impact will include the issue of basic infrastructure system, urban economy and society and management which the settlement in the past always included climate factor as one of the issue in settlement consideration. In addition, the settlement of each community must be placed appropriately to the geographical characteristic, climate, and natural resource in surrounded areas which also related to the way of life in each particular society. Each community contains with different cultural landscape, and also the community needs to learn about how to manage the effects of severe climate change as well. When socio-economic system changed, the technological development and the improvement of economic activity led to the disregard of climate change factor in settlement consideration. Moreover, engineering instrument help the community to cope with the effects of changing climate by maintaining the community status quo. Therefore, the climate has changed overtime and it would be more severe in the future which is considered as the challenge on the issue of human settlement and also lead to the need for the resilience settlement.
Urban Futures Research Unit involves in the Thailand’s Second Assessment Report on Climate Change 2016. The considerations of human settlement aspect are included with several different levels namely megacity, small city/town and community-household by understanding the different context in the sense of the complexity of the society and the driving resources.
Climate change effects in Thailand have higher possibility that it would be more severe in the future especially the flood. Flood in Thailand usually lead to the negative effects on economic and social issues. Coastal areas have the highest risk from the climate change effects because of the intensity of land use development such as the development for settlement purpose, agricultural purpose, industrial purpose and transportation purpose. When flood happened, it would lead to the damages in several different socio-economic aspects. Therefore, the plan to cope and adapt with the climate change effect is necessary.
(ฉบับภาษาไทย)
ประเด็นสำคัญประการหนึ่งที่ต้องคำนึงเมื่อคิดถึงการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศคือ ชีวิตและความเป็นอยู่ของคนจำนวนมากนั้นมีแนวโน้มที่จะตกอยู่ภายใต้ความเสี่ยงที่เปลี่ยนไปเนื่องจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศต่อการตั้งถิ่นฐาน (human settlement) อันรวมไปถึงระบบโครงสร้างพื้นฐาน สภาพแวดล้อมทางกายภาพ สิ่งแวดล้อมเมือง โครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมเมือง รวมถึงการบริหารจัดการที่เหมาะสม ซึ่งการตั้งถิ่นฐานในอดีตนั้นได้มีการนำปัจจัยทางภูมิอากาศเข้ามาผนวกเป็นแนวคิดในการกำหนดที่ตั้งเสมอ กล่าวคือ การเลือกทำเลที่ตั้งชุมชนต่าง ๆ นั้นจะต้องมีความเหมาะสมกับลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และทรัพยากรธรรมชาติในบริเวณนั้น โดยให้สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตของผู้คนในสังคม ซึ่งชุมชนในแต่ละพื้นที่ก็ต่างมีภูมิวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน และชุมชนต่าง ๆ ก็ยังต้องเรียนรู้ที่จะจัดการกับสภาพอากาศที่รุนแรงอีกด้วย แต่เมื่อระบบสังคมและเศรษฐกิจได้เปลี่ยนแปลงไป การพัฒนาทางเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ และกิจกรรมทางเศรษฐกิจเสริมสร้างความมั่งคั่งของสังคมมนุษย์ ทำให้การตั้งถิ่นฐานในอดีตที่จำเป็นต้องคำนึงถึงสภาพภูมิอากาศได้ถูกลดทอนความสำคัญลง โดยมีการจัดการต่าง ๆ ตลอดจนการใช้แนวทางทางวิศวกรรมต่าง ๆ เข้ามาช่วยเสริมให้ชุมชนสามารถจัดการกับความเสี่ยงต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับดำเนินวิถีสังคมไปได้ อย่างไรก็ดี การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่มีแนวโน้มที่จะมีความรุนแรงมากขึ้นในอนาคตเป็นความท้าทายใหม่ต่อความมั่นคงของการตั้งถิ่นฐาน และก่อให้เกิดความจำเป็นในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในบริบทของการตั้งถิ่นฐานที่มั่นคงต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (resilience settlement) ซึ่งจะต้องพิจารณาในบริบทของการตั้งถิ่นฐานในระดับต่าง ๆ ได้แก่ ระดับมหานคร (megacity) ระดับเมืองขนาดเล็ก (small city หรือ town) และ ระดับชุมชน-ครัวเรือน (community-household) โดยทำความเข้าใจถึงบริบทที่แตกต่างกันนี้ในแง่ของความแตกต่างของความซับซ้อนของระบบสังคม กระบวนการวางแผนและการตัดสินใจ ตลอดจนการจัดหาทรัพยากรเพื่อขับเคลื่อนการปรับตัว
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีแนวโน้มที่จะผลักดันให้ประเทศไทยตกอยู่ในภาวะเสี่ยงจากผลกระทบของสภาพอากาศที่แตกต่างไปจากปัจจุบัน โดยเฉพาะภาวะความเสี่ยงจากน้ำท่วมซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจและสังคมไทยเป็นอย่างมาก โดยภาวะน้ำท่วมอาจมีแนวโน้มที่จะมีความเสี่ยงสูงมากขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในอนาคต นอกจากนั้นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อน้ำท่วมมักจะเป็นบริเวณที่ราบลุ่มและชายฝั่งทะเลซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่ที่มีการใช้ที่ดินหนาแน่นทั้งเพื่อการตั้งถิ่นฐาน การทำการเกษตร อุตสาหกรรมตลอดจนการคมนาคมขนส่งต่าง ๆ ดังนั้นเมื่อเกิดน้ำท่วมจึงก่อให้เกิดความเสียหายทั้งในระดับพื้นที่และสภาพเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมของประเทศ การเตรียมการเพื่อรับมือต่อผลกระทบของเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น
การเติบโตของชุมชนเมืองและมหานครในประเทศกำลังพัฒนานั้น มีผลทำให้เกิดแรงกดดันต่อสภาพแวดล้อมธรรมชาติเพิ่มมากขึ้นและมีผลต่อการเกิดจนไปถึงลักษณะของความเสี่ยงทางด้านสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ยิ่งไปกว่านั้น ลักษณะและความถี่ของภัยพิบัติอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านสิ่งแวดล้อมระดับโลก (global environmental change) ยังเพิ่มแรงกดดันต่อระบบสังคมและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย โดยที่ระบบสังคมและสิ่งแวดล้อมของชุมชนเมืองนั้นควรถูกพิจารณาไปควบคู่กัน เนื่องมาจากว่าความแปรปรวน (disturbance) ของระบบหนึ่ง ย่อมส่งผลไปอีกระบบหนึ่งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ (Blackburn and Marques, 2013) ดังนั้นความสำคัญต่อกรอบแนวคิดแบบองค์รวมเพื่อรับมือกับความเสี่ยงต่อการตั้งถิ่นฐานและเมืองจึงมีความจำเป็น โดยการปรับใช้แนวความคิดการเพิ่มความมั่นคง (resilience) ซึ่งมีที่มาจากแนวความคิดการปรับตัว (adaptation) เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศระยะยาว โดยระบุไว้ว่าความเปราะบาง (vulnerability) ต่อภาวะภัย (hazard) นั้น คือ ความอ่อนไหวหรือความไวของมนุษย์ (human sensitivity) ต่อผลกระทบอันจะเกิดจากภาวะภัยนั้น ๆ และเป็นผลลัพธ์อันเนื่องมาจากปัจจัยที่มีความหลากหลาย หรือมิได้เป็นเพียงปัจจัยธรรมชาติเท่านั้น (Wisner et al, 2004) ความมั่นคง (resilience) คือความสามารถที่จะทนทานต่อผลกระทบของภาวะภัย โดยที่ระบบที่ได้รับผลกระทบจะสามารถทำหน้าที่ได้อย่างปกติต่อไป หรือสามารถปรับตัวเพื่อรับมือกับภาวะภัยที่มิได้คาดการณ์ไว้ได้ (Cutter et al, 2008) โดยที่เมืองมั่นคง (urban resilience) นั้นคือ เมืองที่มีการพัฒนาศักยภาพของตนเองเพื่อรองรับกับสภาวะปัญหาอันอาจเกิดขึ้นกับโครงสร้างพื้นฐานและระบบทางด้านเทคนิคก็ดี ทางด้านเศรษฐกิจก็ดี รวมตลอดไปถึงทางด้านสังคมก็ดีในอนาคต โดยที่เมืองเองนั้นก็ยังคงธำรงไว้ซึ่งการทำหน้าที่ โครงสร้าง ระบบ และอัตลักษณ์ของตนเองตามปกติ ภายใต้กรอบการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยการพัฒนาศักยภาพของเมืองนั้น เมืองจะมีการพัฒนาอย่างองค์รวมมากขึ้น เพื่อลดทอนผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคต เหล่านี้แสดงให้เห็นว่า แนวความคิดการสร้างความมั่นคงจึงสัมพันธ์กับแนวความคิดการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่มีความไม่แน่นอนในอนาคตระยะยาวได้
Research Team
Assoc.Prof. Wijitbusaba Marome (รศ.ดร. วิจิตรบุษบา มารมย์)
Faculty of Architecture and Planning, Thammasat University