ความร่วมมือของ Urban Futures and Policy กับ สถานทูตเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทย

Our Article

ความร่วมมือของ Urban Futures and Policy กับ สถานทูตเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทย

year 2023

Share on facebook
Facebook
Share on google
Google+
Share on twitter
Twitter
Share on linkedin
LinkedIn
Share on whatsapp
WhatsApp

หน่วยวิจัยอนาคตและนโยบายเมือง แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดย รศ.ดร.วิจิตรบุษบา มารมย์ (หัวหน้าหน่วยวิจัยฯ) ได้ร่วมกับสถานทูตเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทยเผยแพร่การถ่ายทอดสดการบรรยาย Clevering Lecture 2023 ในหัวข้อ " Notion of Social and Ecological Justice for River and Canalside communities and for nature " บรรยายโดย Dr. Paul Rabé จาก Asian Cities Cluster Coordinator, International Institute for Asian Studies (IIAS), Leiden University, Lead Land Specialist, Institute for Housing & Urban Development Studies (IHS), Erasmus University Rotterdam

Clevering Lecture ก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นการรำลึกถึงสุนทรพจน์จากการประท้วงอันกล้าหาญของ Rudolph Cleveringa คณบดีคณะนิติศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยไลเดน ที่ออกมาต่อต้านการเลิกจ้างเพื่อนร่วมงานชาวยิวตามคำสั่งของพรรคนาซี ทำให้ศาสตราจารย์ Cleveringa ถูกจับกุม นักศึกษาจึงนัดหยุดงาน และเป็นผลให้มหาวิทยาลัยไลเดนถูกปิดตัวลง การบรรยายประจำปีของ Cleveringa จึงจัดขึ้นที่ประเทศเนเธอร์แลนด์และในประเทศอื่น ๆ รวมทั้งสาธารณรัฐเช็ก ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับหลักนิติธรรมเสรีภาพและความรับผิดชอบ

Dr. Paul Rabé เริ่มต้นกล่าวถึงปัญหาภาวะโลกร้อนจากอุณหภูมิของโลกได้เพิ่มสูงขึ้น สาเหตุจากการใช้พลังงานอย่างไม่ยั่งยืน การใช้ที่ดินและการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน วิถีชีวิต และรูปแบบการบริโภคและการผลิต ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงของน้ำในดินแห้ง ความขาดแคลน การพังทลายของดิน การสูญเสียพืชพรรณ ไฟป่า ความเสียหายชายฝั่ง ความเสื่อมโทรมและผลผลิตพืชผลลดลง

ในมุมมองปัญหาของกรุงเทพมหานครที่มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแยกย่อยเป็นลำคลองมากมาย การแปลงนาข้าวและพื้นที่ระบายน้ำตามธรรมชาติเป็นพื้นที่เขตเมืองส่งผลให้การซึมน้ำต่ำ รวมถึงในพื้นที่น้ำท่วมส่งผลให้การระบายน้ำไม่ดี การดูดซึมน้ำต่ำ และน้ำท่วมยาวนาน ในขณะเดียวที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ได้เผชิญกับปัญหาสำคัญในการจัดการน้ำส่วนเกิน คุณภาพน้ำ น้ำทะเลหนุนสูง ระบบโครงสร้างพื้นฐาน และการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืนและไม่เท่าเทียม

Dr. Paul Rabé จึงให้ความสนใจในเรื่องของแม่น้ำและคลองส่งน้ำซึ่งเปรียบเสมือนหลอดเลือดของโลกผ่านการคิดนวัตกรรมการจัดการน้ำ ความร่วมมือของเครือข่าย River Cities Network (RCN) ผ่านแนวทางสหวิทยาการสู่การฟื้นฟูแม่น้ำและลำคลอง ที่ต้องคำนึงถึงน้ำในทุกมิติทั้ง ประวัติศาสตร์ นิเวศวิทยา สังคม เศรษฐกิจ และการเมือง นำไปสู่การสร้างความยุติธรรมผ่านมุมมองสังคม-เศรษฐกิจ ร่วมกับความหลากหลายทางชีวภาพผ่านมุมมองสิ่งแวดล้อม ประเด็นสำคัญและความท้าทายคือ

● "ความยุติธรรม" – ความยุติธรรมสำหรับใครและอย่างไร ขึ้นอยู่กับบริบทของท้องถิ่น

● ความยุติธรรมไม่ควรเป็นเพียงเชิงมานุษยวิทยาเท่านั้น แต่ควรมีไว้สำหรับธรรมชาติและมนุษย์ด้วย โดยที่มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ!

● ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพออีกต่อไป:
• ความเชี่ยวชาญที่มากเกินไปเป็นเพียงมุมมองเดียว ดังนั้นจึงแคบเกินไป
• ความเชี่ยวชาญเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอเนื่องจากความไม่แน่นอนที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
• ข้อมูลจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขและปรับปรุงบ่อยขึ้นเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อย
• ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในท้องถิ่นจำเป็นต้องมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ทั้งเพื่อประสิทธิผลที่มากขึ้นและเพื่อความเท่าเทียม

ความเชี่ยวชาญเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอเนื่องจากความไม่แน่นอนที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
• ข้อมูลจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขและปรับปรุงบ่อยขึ้นเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อย
• ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในท้องถิ่นจำเป็นต้องมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ทั้งเพื่อประสิทธิผลที่มากขึ้นและเพื่อความเท่าเทียม

โดยในครั้งนี้ทางทีม Urban Futures and Policy ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุญอนันต์ นทกุล รองหัวหน้าหน่วยวิจัยอนาคตและนโยบายเมืองแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ คุณนนทฤทธิ์ เพชรานนท์ เข้าร่วมฟังบรรยายและแสดงความคิดเห็นกับการบรรยายในครั้งนี้

ท่านสามารถเข้ารับฟังการบรรยายย้อนหลังได้ที่ : https://fb.watch/oIcUNZvTq7/ .

👉👉👉โปรดติดตาม รายละเอียดและความร่วมมือใหม่ ๆ ได้จากทางหน้าเพจของ Urban Futures and Policy ต่อไป...

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.